Thai Language English Language

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 12. เควอร์ซิทิน สารต้านมะเร็ง

12. เควอร์ซิทิน  ( Quercetin )

      เป็นอีกหนึ่งสารที่สังกัดกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรียและไวรัส ดีต่อหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

      มีงานวิจัยเกี่ยวกับการกินอาหารที่มีเควอร์ซิทิน รายงานว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนในคนที่สูบบุหรี่ และผลจากการทดลองกับสัตว์พบว่า สามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

      ในเครื่องดื่มอย่างชาดำหรือชาเขียว และผักผลไม้ก้พบเควอร์ซิทิน เช่น แอ๊ปเปิ้ล หอมหัวใหญ่ หอมเล็ก ผักผลไม้จำพวกส้ม มะเขือเทศ บรอกโคลี ผักสีเขียว ราสป์เบอรี่ แครนเบอร์รี่ ฯลฯ

     - เควอร์ซิทิน ( Quercetin ) คืออะไร

        เควอร์ซิทิน ( Quercetin ) คือ สารที่มีบทบาทสำคัญ ในการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ เควอร์ซิทิน เป็นสารพฤกษเคมีที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้าน ออกซิเดชั่นสูงที่สุด มีมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่ว ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันได้ การรับประทานผัก และ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทินในปริมาณสูง มีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจที่ดี จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า เควอซิทิน ถือว่าเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ปกป้องหลอดเลือด ( vasoprotective ) และช่วยในการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนและการทำงานหัวใจดีขึ้น

        การได้รับฟลาโวนอล และ ฟลาโวนในระดับที่สูง ( มากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน ) จะช่วยลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคลมชักในระยะแรก ในผู้ป่วยสูงอายุได้สองในสามส่วน เควอซิทิน คือ ฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ ในอาหารที่ทำการศึกษาในครั้งนี้

        เควอร์ซิทิน มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดและปกป้องหลอดเลือด และลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันแอลดีแอล (LDL) จากการทดลองในหลอดทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นกลไก ที่สำคัญที่จะช่วยในการทำงานของหลอดเลือด หัวใจและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

        เควอร์ซิทิน ทำให้เกิดการยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์ และรวมถึงการทำให้เกิด อะพ็อพโทซิส ( apoptosis ) หรือการตายของเซลล์ ในการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติได้

        เควอร์ซิทิน ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นตัวนำการตาย ของเซลล์ในเซลล์เนื้องอกลำไส้ รวมทั้งยังช่วยยับยั้งฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ของกลุ่มเซลล์ ที่ได้รับสารกระตุ้นการเจริญเติบโต ของเซลล์เนื้องอก และลดทางการเจริญเติบโต ในเซลล์เนื้องอกชนิดนี้

       ปัญหาด้านโภชนาการของเด็กไทยในวันนี้ นอกจากจะชอบรับประทานอาหาร หรือขนมที่มีการปรุงแต่งรสชาติ สีสัน มากด้วยน้ำตาล และไขมัน แต่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยแล้ว ยังไม่ชอบรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กลายเป็นเรื่องที่จะต้องมีการรณรงค์ เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่ ให้เด็กไทยหันมาสนใจบริโภคผักกันมากขึ้น

       จากการสำรวจภาวะอาหาร และโภชนาการของประชาชนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546-2547 พบว่า เด็กวัยเรียนมีการบริโภคผักทุกวัน เพียงร้อยละ 41.1 ในปริมาณวันละ 14.3 กรัมต่อคน หรือประมาณ 1.5 ช้อนกินข้าว ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าธงโภชนาการ ซึ่งแนะนำให้เด็กวัยเรียนอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคผักมื้อละ 4 ช้อนกินข้าว นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กวัยเรียนมีการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ควรมีการบริโภคผัก ผลไม้ให้ได้วันละ 500 กรัม เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นต้น (อ้างอิงที่ 1) 
 
       และมีงานวิจัยที่แสดงว่าชายไทยร้อยละ 80 กินผักผลไม้เพียง 268 กรัม/คน/วัน และหญิงไทยร้อยละ 76 กินผักผลไม้เพียง 286 กรัม/คน/วัน ซึ่งตัวเลขนี้ห่างจากมาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 400-500 กรัม/คน/วัน พอสมควรทีเดียว ผลของการไม่กินผักทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย อาทิ ท้องผูก ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ เพราะได้รับคุณค่าของสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งต้องหันมากินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอย่างเพียงพอ ไม่ควรกินผักผลไม้เพียงแค่ชนิดเดียว ควรกินให้ได้หลากหลายสี ทั้ง แดง เหลือง ส้ม เขียว ขาว เพราะแต่ละชนิดให้คุณค่าของวิตามิน เกลือแร่และพฤกษเคมี สารเม็ดสีในผักผลไม้เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรค เป็นประโยชน์แตกต่างกันไป ดังนี้ 

          ผัก ผลไม้ สีแดง ที่เห็นคุณประโยชน์เด่นชัดเลยก็คือ มะเขือเทศ ทับทิม เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ หรือแม้กระทั่งลูกแอปเปิ้ลแดงก็ตาม ในผัก ผลไม้สีแดงนี้จะมีสารไลโคพีน(Lycopene) กรดเอลลาจิก (Ellagic acid) แอนโธไซยานิน(Anthocyanin) และกรดแกลลิก (Gallic acid) ที่ช่วยทำให้ระบบการทำงานของต่อมลูกหมากดีขึ้น ทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดอีกด้วย 

         ผัก ผลไม้ สีเหลือง และสีส้ม จะช่วยในเรื่องของผิว เพราะมีเบต้าแคโรทีน(Bata-carotene) อยู่จำนวนมาก เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพด ใครที่กินผัก ผลไม้ประเภทนี้มาก ๆ ผิวจะกลายเป็นสีเหลือง นั่นเป็นเพราะสารเบต้าแคโรทีนไปสะสมอยู่ตรงบริเวณผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ผัก ผลไม้ สีเหลือง มีส่วนช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอล ช่วยทำให้สีผิวหน้าที่เป็นฝ้าลดลงได้ รวมทั้งข้าวโพดเหลือง ๆ ที่ช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาของดวงตาได้อีกด้วย 

        ผัก ผลไม้ สีเขียว ที่ แทบจะเรียกได้ว่ามีมากที่สุดในบรรดาผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น บร็อคโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี ผักโขม ผักบุ้ง กวางตุ้ง โหระพา กะเพรา สะระแหน่ และวอเตอร์เครส โดยในผักสีเขียวจะอุดมไปด้วยสารไอโซไธโอไซยาเนท(Isothiocyanate) สารลูทีน (Lutein) สารซีแซนทีน (Zeaxanthin) สารคาเทชิน(Catechins) สารอาหารเหล่านี้จะเข้าไปมีส่วนช่วยทำให้เซลล์สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังสนับสนุนการทำงานของปอด หลอดเลือดแดง และตับอีกด้วย  
 
        ผัก ผลไม้ สีขาว ได้แก่ กระเทียม หอมใหญ่ เห็ด กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ดอกแค และมะขามป้อม มีสารอาหารที่ช่วยเสริมให้ร่างกายแข็งแรงเช่นกัน โดยในกระเทียมมีสารอัลลิซิน(Allicin) สารเควอซิทิน(Quercetin) ที่ช่วยดูแลในเรื่องของกระดูก และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายดี ดอกแคก็มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยให้ผิวสวย 
(อ้างอิงที่ 2)

           ในการกินผักผลไม้นั้น นอกจากจะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างครบถ้วนแล้ว ยังได้ในเรื่องของกากใยเพื่อช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการบาดเจ็บได้ เร็วขึ้น มาใส่ใจในการกินผักผลไม้ ตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า

เอกสารอ้างอิง : 
 
1. กินผักทุกวัน เด็กไทยทำได้...ของขวัญวันเด็ก จาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขhttp://www.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/advisor /main.php?filename=070204
2. ผัก ผลไม้ 5 สี ดีมีประโยชน์, กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร http://203.155.220.217/hpd/slide8.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes