Thai Language English Language

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 15. กรดโฟลิก สารต้านมะเร็ง

15. กรดโฟลิก  ( Folic Acid )

         ได้ยินบ่อยๆ ว่ามีความสำคัญต่อสมองของทารกในครรภ์ แต่ประโยชน์มีมากกว่านั้นค่ะ ที่เราให้ความสนใจก็ เพราะช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย

         นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กรดโฟลิกดูแลดีเอ็นเอของเราอยู่ การมีกรดโฟลิกต่ำจะทำให้เซลล์ที่เกิดใหม่ไม่ลอกแบบให้เหมือนเซลล์เก่า แต่ทำตัวผิดเพี้ยนไปกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ พบว่าคนที่มีเซลล์มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นจะมีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำ

         กรดโฟลิกหาได้ง่ายมากๆ ในอาหารประจำวัน เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วแดง ส้ม ฯลฯ การกินผักผลไม้ให้ได้โฟลิกเต็มๆ ควรกินผักสด เพราะโฟลิกจะหายไปเกือบตรึ่งหากปรุงด้วยความร้อนสูง

- กรดโฟลิคคืออะไร ?

          กรดโฟลิค ( Folic acid ) เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามิน บี ที่ละลายน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูป สารประกอบชนิดอื่น ๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น โฟเลต (Folate) โฟลาซิน (Folacin) เป็นต้น กรดโฟลิคมีหน้าที่ในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม ควบคุมการสร้างกรด อะมิโน (Amino acids) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการสร้างและการแก่ตัวของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในไขกระดูก กรดโฟลิคเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมที่บริเวณลำไส้เล็ก จากนั้นจะถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและสุดท้ายจะถูกขับออกจากร่างกายไปกับปัสสาวะในรูปของโฟเลท

- ใครกันที่เสี่ยงต่อการขาดกรดโฟลิค

         กลุ่ม ที่เสี่ยงต่อการขาดกรดโฟลิคมากที่สุด คือ หญิงตั้งครรภ์ คนที่รับประทาน กรดโฟลิค ไม่เพียงพอ กลุ่มทารก เด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๆ
อาการแสดงสำคัญของการขาดกรดโฟลิค

         1. โลหิตจางที่มีขนาดเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่าปกติ ( Megaloblastic Anemia ) ภาวะโลหิตจางชนิดนี้เกิดขึ้นเพราะมีการปล่อยเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่ ออกมาในกระแสเลือด เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงที่ไม่โตเต็มที่ไม่เพียงพอ (เม็ดเลือดแดงที่โตไม่เต็มที่ จะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงปกติที่โตเต็มที่แล้ว)

         2. ความพิการทางสมอง ( Neural tube defect ) เป็นความผิดปกติในการสร้าง หลอดประสาท มีผลต่อไขสันหลังและสมอง เกิดขึ้นในระยะแรกของการพัฒนาเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงในตัวอ่อน เพื่อพัฒนาเป็นไขสันหลัง ประสาทและสมอง ขณะเดียวกันกระดูกส่วนสันหลังจะค่อย ๆ เจริญออกมาล้อมรอบไขสันหลัง ซึ่งในช่วงที่ร่างกายกำลังพัฒนานี้ เกิดความผิดปกติขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาได้ ภาวะรุนแรงที่สุด คือ สมองทั้งหมดขาดหายไป (Anencephaly) ที่พบบ่อยที่สุด คือ กระดูก สันหลังไม่ยื่นมาเชื่อมเป็นวงแหวน เพื่อจะโอบล้อมไขสันหลัง ทำให้ของเหลวในไขสันหลังดันช่องกระดูก สันหลังที่ปิดไม่สนิทนี้โป่งออกมา เรียกว่า Spina Bifida ซึ่งความพิการทางสมองนี้ เกิดจากการขาดกรดโฟลิคในช่วงก่อนตั้งครรภ์และช่วงแรกของการตั้งครรภ์

         3. ภาวะมีสารโฮโมซีสเตอีนสูงเกินปกติ ( Homocysteinemia ) ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของปริมาณสารโฮโมซีสเตอีนในกระแสเลือด เชื่อว่าโฮโมซีสเตอีนนี้ จะยับยั้ง Cross-linking ระหว่างการสร้าง elastin และ collagen เพิ่มการสร้าง prostaglandin ในเกร็ดเลือดและหลอดเลือด มีการกระตุ้น coagulation factors จนมีการทำลายหลอดเลือดในที่สุด ซึ่งการเพิ่มขึ้นของโฮโมซีสเตอีนนี้จะมี ความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะ เลือดแข็งตัวเป็นก้อนอุดตันทางเดินของกระแสเลือดในเส้นเลือดบริเวณรอบนอกตาม แขนขาและอาจส่ง ผลให้เกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูง โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน

กรดโฟลิก กินก่อนท้อง 1-3 เดือน

         สำหรับ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและกำลังคิดจะมีลูก อย่าปล่อยให้ความคิดดีๆ นั้นผ่านไปโดยคุณไม่ได้ทำอะไรเลยนะคะ เพราะสิ่งสำคัญก่อนที่คุณจะมีลูก ก็คือการวางแผนครอบครัว ซึ่งเป็นการวางแผนเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆโดย เฉพาะการกินกรดโฟลิกเสริมก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน และกินต่อไปอีก 3 เดือนหลังตั้งครรภ์แล้ว จะได้รับประโยชน์และช่วยลดความพิการของโรคได้ แม้ความเสี่ยงเหล่านี้มีเพียง 1:1,000 ของกาตั้งครรภ์ก็ตาม แต่ก็เป็นเร่องที่เราไม่ควรเสี่ยง จริงไหมคะ ส่วน การกินกรดโฟลิกขณะตั้งครรภ์ จะไม่มีผลต่อการป้องกันความพิการแต่กำเนิด เนื่องจากการปิดหัวปิดท้ายจะปิดเสร็จภายใน 28 วันหลังปฏิสนธิ (ปฏิสนธิช่วงกลางรอบเดือนที่มีไข่ตก) ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าประจำเดือนไม่มา หรือรู้ว่าท้องก็เลยช่วงเวลานี้ไปแล้ว เพราะแต่ละวันกลไกของธรรมชาติร่างกายคนจะถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วว่าจะ สร้างอะไร เมื่อผ่านไปแล้วก็ไม่สามารถกลับมาสร้างซ้ำได้อีก

        สำหรับคุณ แม่ที่ไม่ได้เสริมกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะกรดโฟลิกจะมีในอาหารที่เรากินทุกวันอยู่แล้วค่ะ ถ้าคุณไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงก็ไม่ต้องกังวล และอีกอย่างหนึ่งคือ ความผิดปกติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน และไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดกรดโฟลิกอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกถึง 50% คือความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับไข่ของคุณแม่มากกว่าน้ำเชื้อของคุณพ่อ เพราะจะมีการแบ่งโครโมโซมไว้ครึ่งหนึ่งแล้วตั้งแต่อยู่ในท้องเพื่อรอปฏิสนธิ ซึ่งอาจจะมีการแตก หัก หลุด และไปจับกันใหม่จนผิดที่ผิดทาง หรือหายไปบ้าง พอผสมกับน้ำอสุจิทำให้ไม่ครบคู่บ้าง เกินบ้าง ยิ่งอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป เปอร์เซ็นที่จะเกิดก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วยได้รับเชื้อบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน ก็มีส่วนทำให้สมองพิการได้เหมือนกัน เช่น ปัญญาอ่อน สมองลีบเล็กไม่เติบโต การกินยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาขับประจำเดือนและยาอื่นๆ ซึ่งเข้าไปรบกวนการสร้างอวัยวะ เป็นต้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น พื้นที่เสี่ยง โดนรังสีเอกซ์เรย์ ได้รับสารเคมีบางอย่าง เป็นต้น

กรดโฟลิก กินแค่ไหนจึงจะพอ

         แม่ กลุ่มทั่วไป คือกลุ่มที่ไม่เคยมีประวัติว่าลูกหรือญาติมีความพิการแต่กำเนิด เมื่อตั้งครรภ์กรดโฟลิกในตัวแม่จะลดลง เนื่องจากถูกดึงไปใช้ในการสร้างตัวอ่อน ดังนั้นควรได้รับอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม (0.04 มิลลิกรัม) จึงจะช่วยลดอุบัติการณ์ความพิการแต่กำเนิดได้มากกว่า 50% แต่ถ้าไม่ได้รับกรดโฟลิกก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดมากกว่า 50% เช่นกัน
แม่ในกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มที่มีประวัติว่าลูกหรือญาติเคยมีความพิการเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ความพิการของกะโหลก ระบบประสาทส่วนกลาง สมองพิการแต่กำเนิด โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือแม่เป็นโรคโลหิตจาง เป็นต้น แม่กลุ่มนี้จะต้องได้รับกรดโฟลิกเพิ่มเป็นวันละประมาณ 40,000 ไมโครกรัม ( 4 มิลลิกรัม ) คือมากกว่าแม่กลุ่มปกติประมาณ 100 เท่าค่ะ

กรดโฟลิก หาง่าย & สูญสลายง่าย

        หาง่าย บ้านเรามีอาหารที่มีกรดโฟลิกให้เลือกมากมาย เพราะมีอยู่ในผักใบเขียวเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี ถั่วลันเตา ธัญพืชต่างๆ ผลไม้ตระกูลส้ม ที่สำคัญหากได้รับกรดโฟลิกแบบครบคุณค่าควรกินแบบสดๆ หรือถ้าจะลวกก็ต้องทำด้วยความรวดเร็วค่ะ

สูญสลายง่าย

        การปรุงอาหารที่ ต้องใช้ความร้อนนานๆ จะทำให้กรดโฟลิกสูญสลายได้ง่ายหากมีอาการตัวร้อนและเป็นไข้หลายวัน ด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นทำให้ระดับกรดโฟลิกในร่างกายลดลงได้เช่นกันการ ได้รับยารักษาโรคลมชัก คนที่เป็นโรคลมชักและต้องกินยาเป็นประจำ ยาตัวนี้จะเข้าไปต่อต้านการสร้างโปรตีนและลดการดูดซึมของกรดโฟลิก ดังนั้น คุณแม่ที่มีภาวะลมชักอยู่จะต้องกินโฟลิกให้มากขึ้นประมาณ 10 เท่าจากที่กินอยู่เดิมค่ะ

       การวางแผนกินกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า และคุ้มเวลาแห่งการรอคอยของคนเป็นแม่แน่นอนค่ะ

ความต้องการ กรดโฟลิค ของร่างกาย 
 

       กรดโฟลิค หรือวิตามิน B9 นั้นต้องพิจาณาในการกิน และความต้องการของร่างกาย

       สำหรับผู้หญิงมีความต้องการ ประมาณ 400 ไมโครกรัม/วัน (0.4 มิลลิกรัม/วัน)

       สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการ 600 ไมโครกรัม/วัน (0.6มิลลิกรัม/วัน)

การกินกรดโฟลิคเสริม

       การกินกรดโฟลิคเสริมสามารถทำได้ แต่ไม่ควรเกิน 1000 ไมโครกรัม/วัน (1 มิลลิกรัม) เนื่องมาจากกรดโฟลิค อาจทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามิน B12 ได้ เพราะกรดโฟลิคจะขัดขวางการดูดซึมวิตามิน B12 ควรกินโฟลิคควบคู่กับวิตามิน B12 ด้วย

การกินกรดโฟลิคมากเกินไป

       กรดโฟลิคมีความเป็นพิษต่ำมาก เนื่องจากสามารถละลายน้ำได้ และร่างกายสามารถขับกรดโฟลิค ในร่างกายออกทางปัสสาวะได้จากการทดลองขององค์การเภสัชของสหรัฐ ได้ทดสอบให้ ชายและหญิง รับประทาน กรดโฟลิค 1000 ไมโครกรัม/วัน (1 มิลลิกรัม/วัน)  เข้าไป พบว่าร่างกายสามารถขับออกได้ ทางปัสาวะ

       ทางองค์การเภสัชสหรัฐ ได้กำหนดระดับสูงสุดที่เหมาะสม  สำหรับ ชายและหญิงไม่เกิน 1000 ไมโครกรัม/วัน (1 มิลลิกรัม/วัน) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ แม่ที่ให้นมบุตรและเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ควรเกิน 800 ไมโครกรัมต่อวัน (0.8 มิลลิกรัม)

[ที่มา: นิตยสาร รักลูก ฉบับที่ 299 เดือนธันวาคม พ.ศ.2550]
[ที่มา: http://www.babyfancy.com]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes