Thai Language English Language

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 13. คาเทซิน สารต้านมะเร็ง

13. คาเทซิน  ( Catechin )

      เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่ดีมากๆ อีกชนิดหนึ่งในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งให้รสขมและฝาด พบมากที่สุดในชาเขียว สารชนิดนี้ เมื่อสัมผัสกับความร้อนเวลาเราชงชาจะละลายตัวออกมา สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิจัยพบว่าในใบชามีคาเทซินถึงประมาณร้อยละ 60 - 70 % ความสามารถคาเทซินก็คือ ช่วยป้องกันมะเร็งและป้องกันหลอดเลือดเสื่อม ช่วยในเรื่องการทำงานของกระดูกอ่อน และป้องกันโรคข้ออักเสบ นอกจากชาเขียวแล้ว ยังพบได้ในชาขาว ชาดำ โกโก้ องุ่น พีช ฯลฯ


         รู้จักสารคาเทชิน ในชาเขียว
    

ช่วง นี้กระแสฮิตชาเขียวกลับมาอีกครั้ง ส่งผลให้ผู้ผลิตบางราย โหมโฆษณาถึงประโยชน์ของสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีในชาเขียว เท็จจริงสารที่ว่านี้คืออะไร แล้วดีจริงหรือ

สารคาเทชิน ในบรรดาชาหลายชนิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาดำ หรือชาอูหลง ต่างมีสารเคมีสำคัญ ที่มีผลดีต่อสุขภาพของเรา ไม่ว่าจะเป็นสารพอลีฟีนอล สารทีเอนีน สารคาเทชีน แต่สำหรับชาเขียว ดูเหมือนจะถูกยอมรับว่ามีสารคาเทชินมากที่สุด และสารตัวนี้ ให้ประโยชน์อะไรบ้าง

1.มีส่วนช่วยในกระบวน การขจัดไขมันคอเรสเตอรอลในหลอดเลือด ลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เนื่องมาจากการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด

2.ช่วยในการขับสารพิษและอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่ส่งผลในการป้องกันความเสี่ยงของภาวะมะเร็ง และโรคความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คาเทชิน มีบทบาทสำคัญ โดยลดภาวะเป็นพิษของสารก่อมะเร็งบางชนิด แทรกแซงกระบวนการยึดเกาะของสารก่อมะเร็งกับ DNA ของเซลล์ปกติ และจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอกด้วย

3.ลดระดับน้ำตาลในเลือด สารคาเทชินสารมารถจำกัดการทำงานของเอนไซม์อะมิเลส ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำลง

4.ช่วยรักษาสุขภาพในช่องปาก คาเทชินจะมีผลไปยั้บยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างคราบหินปูนในช่องปาก ลดการเกิดฟันผุ ดังนั้น หากดื่มชาเขียวหลังจากทานอาหารเสร็จ นอกจากดีต่อสุขภาพภายในแล้ว ยังดีต่อสุขภาพช่องปากด้วย

5.ช่วยลด น้ำหนักได้ ทั้งนี้ สารสกัดที่ได้จากชาเขียวจะสามารถเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและดึงพลังงานนั้น ออกมาใช้โดยไม่มีการสะสมในรูปแบบของไขมัน ผู้ที่อยุ่ระหว่างการลดน้ำหนัก ชาเขียวน่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียว

 มาถึงตรงนี้ หลายคนคงแทบจะรีบพุ่งไปร้านสะดวกซื้อเพื่อหาชาเขียวมาดื่มกันแน่ แต่เดียวก่อน ไม่มีอะไรที่มีแต่ข้อดี ข้อเสียของชาเขียวก็มีเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานถึงผลเสียของการได้รับคาเทชินเข้าสู่ร่างกายในปริมาณ มาก ๆ ก็ตาม อย่าลืมว่าในชาเขียวเอง ไม่ได้มีสารเคมีที่สำคัญเพียงตัวเดียว การดื่มชาเขียวในปริมาณมาก ๆ ย่อมส่งผลให้นอนไม่หลับ เนื่องจากคาเฟอีน นอกจากนี้ สารแทนนินที่ อยู่ในน้ำชา จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลั่งน้ำย่อยมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารได้ และชาที่เข้มข้นเกินไปก็ทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน

และถ้าหากต้องการดื่มชา ที่มีสารคาเทชินให้ครบถ้วนแล้ว ควรจะดื่มตอนร้อนเท่านั้น เพราะเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปที่เราเห็นตามตู้แช่ ได้ผ่านกรรมวิธีจนสารคาเทชินไม่เหลืออยู่แล้ว แถมผู้ผลิตยังได้ใส่น้ำตาลเพื่อเข้าไปเพื่อให้มีรสชาติถูกปาก (รสชาติชาที่แท้จริง จะมีรสขมปนฝาด) แทนที่จะได้รับประโยชน์จากชาเขียวเต็มที่ ยังต้องเสียรู้ให้กับผู้ผลิตอีกต่างหาก

ดังนั้น การดื่มชาเขียว ไม่ใช้สักแต่ว่าจะดื่ม หรือใครก็ดื่มได้ มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ต้องการดื่มชาเขียวด้วย
 
-ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา เพราะสารต่างๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อยาที่กินเข้าไป อาจทำให้คุณสมบัติของยาเจือจางหรือเสื่อมสภาพลง หรือขั้นร้ายแรงอาจกลายเป็นสารพิษได้ ถ้าหากอยากดื่มควร ดื่มก่อนหรือหลังทานยาประมาณ 2 ชั่วโมง

-ไม่ควรดื่มชาก่อนนอนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก และโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะกรดแทนนิก เมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารและลำไส้จะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถ ละลายได้ ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็กและเป็นโรคโลหิตจางได้

-ไม่ควรดื่มชาร้อนจัด เพราะการดื่มของร้อนจัดมีผลข้างเคียงต่อช่องปาก ลำคอ ลำไส้ได้ อาจทำให้เนื้อบางส่วนในช่องปากตาย และอาจเป็นต้นเหตุกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ 

-ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อยและไตต้องทำงานหนักขึ้น ขณะที่ประสิทธิภาพของไตยังทำงานได้ไม่เต็มที่

-ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในหัวใจอุดตันไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป หากความดันโลหิตขึ้นสูงมาก หรือหัวใจถูกกระตุ้นมากเกินขีดจะเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรวดเร็วฉับพลัน

-ผู้ที่มีไข้สูง ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะด่างในน้ำชาจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จึงยิ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น กรดแทนนิกในน้ำชายังส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระบบการขับเหงื่อของร่างกายทำงานบกพร่อง
 
แล้วดื่มชาอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้ จริง มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ ไม่ควรต้มชานานเกินไป ในชา 1 ถึง หรือประมาณ 2-4 กรัม (1-2 ช้อนชา ขึ้นอยู่กับชนิดของชา) ต่อถ้วย ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นทิ้งไว้ 3 นาที แล้วแทน้ำร้อนลงบนถุงชา และทิ้งไว้ 3 นาที นำถุงชาออก ปล่อยให้เย็นอีก 3 นาที
จะเลือกกิน หรือเลือกทาน อย่าแค่ตามกระแสแฟชั่น รู้ให้จริง จะไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิตที่มุ่งเอาแต่ผลกำไร เลือกให้เหมาะกับ ที่สำคัญเดินทางสายกลางในการดูแลสุขภาพ น่าจะเป็นวิธีที่ดีทีสุด

ขอบคุณ

ข้อมูลจาก ฉัตรฤดี สุวรรณชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes