Thai Language English Language

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 9.แคปไซซิน สารต้านมะเร็ง

9. แคปไซซิน  ( Capsaicin )

        หลายคนอาจได้ยินชื่อสารชนิดนี้มาบ้างจากพริก คุณสมบัติเผ็ดร้อนของแคปไซซิน เป็นตัวทำให้พริกหรือเครื่องเทสบางชนิดมีความเผ็ด ความเผ้ดมีประโยชน์หลายอย่างค่ะ ช่วยลดอาการปวด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยละลายลิ่มเลือด

       ส่วนคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง แคปไซซินจะยับยั้งสารเคมีที่เป้นตัวกระตุ้นการมะเร็งจากการสูบบุหรี่ได้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมประเทศอังกฤษ รายงานว่า สารชนิดนี้จะไปทำให้เซลล์มะเร็งตาย โดยไม่ไปทำร้ายเซลล์ดีที่อยู่รอบๆ

       ผลวิจัยพบสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกขี้หนู ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

       รศ.สุ พีชา วิทยเลิศปัญญา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเรื่อง "เภสัชจลนศาสตร์ของสารแคปไซซินในพริกขี้หนูสด และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี" เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสารแคปไซซินว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่

       "แคปไซซินพบมากที่สุดบริเวณรกของพริกขี้หนู วิธีการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสารตัวนี้ที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง โดยใช้พริกขี้หนูขนาด 5 กรัม พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงชัดเจน จากนั้นทดลองในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 12 ราย กลุ่มหนึ่งทานพริกขี้หนูบรรจุในแคปซูลพร้อมกับน้ำตาลความเข้มข้นสูง อีกกลุ่มทานแคปซูลเปล่า เพื่อเปรียบเทียบผลแล้วจึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุก 15 นาที ตั้งแต่เริ่มทานยาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดในนาทีที่ 30 โดยกลุ่มที่ทานพริกขี้หนูสดมีระดับน้ำตาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่ทานแคปซูล เปล่า" รศ.สุพีชา ระบุ

       ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้ ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่แคปไซซินดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและออกฤทธิ์กระตุ้น การหลั่งอินซูลินนั่นเอง

      "นอกจากพริกขี้หนูสดแล้วยังมีสมุนไพรชนิด อื่น เช่น ใบหม่อน มะระขี้นก ฯลฯ ที่มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะต้องศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อใช้สมุนไพรดังกล่าวเสริมกับการรับประทานยาแผนปัจจุบัน สำหรับงานวิจัยที่จะทำต่อไปในอนาคตจะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ป่วยเบา หวาน" รศ.สุพีชา กล่าว


            พริก...ช่วย บรรเทาอาการไข้หวัด ช่วยให้ระบบการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวาง ระบบการหายใจ ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วย บรรเทาอาการไอ สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิด นอกจากนั้นสารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด

            พริก...ช่วย ลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

            พริก...ช่วย ลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

            พริก...ช่วยลด ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้
นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรที นสูงถึง 7 เท่า

           คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์ และทำลายเซลล์มะเร็ง สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน

           พริก...ช่วย บรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไม เกรนลงได้
  
           พริก...ช่วย เสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร เอนดอร์ฟิน (endorphin มาจากคำว่า endogenous morphine) ขึ้น สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก (โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า แต่ผู้ออกกำลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส
ถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปากควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมีผลเพียงช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดก็ยังไม่ได้ลดลง เนื่องจากว่า ‘น้ำ' ละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดี...นั่นเอง

Tips

          เกณฑ์วัดระดับความเผ็ดร้อนสากลของพริกหรือผักผลไม้ที่มีสารแคปไซ ซินซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนี้เรียกว่า สโกวิลล์ (Seoville) เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับนี้ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ ลินคอร์น สโกวิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน โดยเขาได้คิดค้นระดับวัดความเผ็ดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ขณะทำงานอยู่ที่บริษัทผลิตยา พาร์ก เดวิส เพื่อวัดความฉุนหรือความเผ็ดร้อนของพริกต่างชนิดกัน

         สำหรับความเผ็ดที่วัดได้จากพริกขี้หนูสวนบ้านเรานั้นจะอยู่ที่ 50,000-100,000 สโกวิลล์ ในขณะที่สารแคปไซซินบริสุทธิ์นั้นมีค่าประมาณ 15,000,000-16,000,000 สโกวิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร จากเรด ซาบีนา วัดค่าได้ถึง 350,000-577,000 สโกวิลล์...เลยทีเดียว

         คุณหรือหรือไม่คะว่าในพริกมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “แคปไซซิน” ซึ่งเป็นตัวที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญได้ โดยจะทำให้ร่างกายของเราสามารถใช้แคลอรีได้เร็วขึ้น เพราะในสารแคปไซซินช่วยทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่พบว่า คนที่กินอาหารรสเผ็ดจะสามารถกินอาหารได้ในปริมาณที่น้อยลง ทำให้ผอมลงได้ค่ะ และช่วยรักษาอาการอักเสบในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

>> ประโยชน์ของการกินเผ็ด

  • ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น และความดันโลหิตลดลง แต่จะไหลเวียนไปทั่วร่างกายสะดวกยิ่งขึ้นค่ะ
  • พริกช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดด้วยค่ะ เพราะประกอบไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซีนั่นเอง
  • อาหารที่มีรสเผ็ดจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ค่ะ
  • ช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารได้ค่ะ เพราะมันจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำกรดในกระเพาะอาหาร
  • แคปไซซินในอาหารรสเผ็ดจะช่วยฆ่าแบคทีเรีย H.Pylori ที่เป็นตัวการของแผลในกระเพาะอาหาร และป้องกันโรคกระเพาะได้ค่ะ แต่ถ้าคุณเป็นโรคกระเพาะแล้วก็ไม่สามารถช่วยได้ค่ะ
  • ขมิ้นชัน จะช่วยลดอาการอักเสบบริเวณข้อต่อ โดยมี Curcumin เป็นสารประกอบหลัก และมีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดข้อด้วยค่ะ
  • พริกขี้หนูจะช่วยเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินและเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสมุนไพรที่ช่วยต้านโรคซึมเศร้า และคลายเครียดได้ด้วยค่ะ
>> โทษของการกินเผ็ด
  • หากกินรสเผ็ดจัดเกินไป จะทำให้เป็นโรคกระเพาะและผนังกระเพาะอักเสบได้ค่ะ
  • เป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนค่ะ การที่เราเรอหลังจากกินอาหารรสเผ็ดเข้าไปไม่ได้แปลว่าเราไม่มีมารยาทนะคะ แต่นั่นเกิดจากร่างกายของเราไม่สามารถจัดการกับอาการรสจัดได้ค่ะ
  • ทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากอาหารรสเผ็ดไปเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นนั่นเองค่ะ
  • ทำให้ปุ่มรับรสเสียไปถ้าหากกินเผ็ดนานๆ ไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes