Thai Language English Language

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 10. ฟลาโวนอยด์ สารต้านมะเร็ง

10. ฟลาโวนอยด์  ( Flavonoid )

       ต้องบอกไว้หน่อยค่ะว่า ฟลาโวนอยด์เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มพอลิฟีนอล ( Polyphenol ) เพราะจะมีสารในกลุ่มนี้อีกหลายชนืดที่เราได้ยินกันบ่อยๆ

       ฟลาโวนอยด์มีสารประกอบหลายชนิดที่ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติเป้นแอนติออกซิแดนต์ เช่น ฟลาโวน ( Flavone ) และคาเทชิน ( Catechin ) สามารถป้องกันไม่ให้เซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายของเราถูกฟรีแรดิคัลทำลาย

        และเพราะเป็นสารพฤกษเคมี ฟลาโวนอยด์จึงพบเฉพาะในพืช,ผัก และผลไม้เท่านั้น เช่น ชาเขียว องุ่นแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล ถั่วเหลือง ส้ม ฯลฯ ในเนื้อส้มและใยส้มจะมีฟลาโวนอยด์อยู่มาก การกินส้มทั้งผลย่อมทำให้ได้รับคุณค่าสูงสุด

        - ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) เป็น สารประกอบฟีนอลิค มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ    ( antioxidant ) ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นสารต้านจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอาการแพ้ ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ แต่สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือคุณสมบัติในการเป็นสารแอนติออกซิเดนท์ โดยสารฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) มีความสามารถในการลดการเกิดอนุมูลอิสระ หรือหากเกิดมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นแล้วฟลาโวนอยด์ก็สามารถกำจัดได้

        - ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) พบมากในไวน์และชา ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดในชาวฝรั่งเศสซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคเนยและน้ำมันหมู จำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความดันโลหิตสูง (Hyper tension) ด้วย แต่กลับพบว่าชาวฝรั่งเศสมีอัตราการตายเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อย กว่าชาวอเมริกันซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารคล้ายกันถึง 2.5 เท่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวฝรั่งเศสจะนิยมดื่มไวน์หลังอาหาร  ซึ่งมีสารฟลาโวนอยด์อยู่ในไวน์นั่นเอง โดยมีการศึกษาพบว่าการดื่มน้ำองุ่นชนิดสีม่วงในปริมาณแก้วละ 5 ออนซ์ วันละ 2 แก้ว จะช่วยลดการเกาะตัวของเม็ดเลือดได้ถึง 60% ซึ่งทำให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ แต่ทว่าไวน์นั้นมีราคาสูงถ้ารายได้น้อยๆ อย่างผมคงจะไม่ไหวจริงๆ คงจะซื้อได้แต่ขวดเปล่า 555+ แต่ถ้าเป็นชาละก็พอไหวครับ สารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ ที่พบมากในชาเขียว ได้แก่ คาเทชิน (catechin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารแอนติออกซิเดนท์ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และยังทำงานร่วมกับสารแอนติออกซิเดนท์และเอนไซม์ อื่นๆ ในลำไส้ ตับ และปอด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์เนื้องอกก่อตัว มีความสามารถในการป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีงานวิจัยพบว่าผูที่ดื่มชาเขียวตั้งแต่วันละ 10 ถ้วยขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยลง และผู้ที่ดื่มชาเขียวตั้งแต่วันละ 2 ถ้วยขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มถึงเกือบ 60% และการดื่มชาประจำก็ให้ผลในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้เหมือนกัน กับการดื่มไวน์อีกด้วย และพบว่าชาที่สกัดเอาคาเฟอีนออกจะให้ผลน้อยกว่าชาที่ไม่ได้สกัดคาเฟอีน


 - งานวิจัยอุตสาหกรรมเภสัช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 

          การวิจัยทางด้านอาหารส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่ไวตามินและเกลือแร่เพราะถือว่า เป็นองค์ประกอบสำคัญแต่ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ก็เป็นกลุ่มอาหารกลุ่มหนึ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ฟลาโวนอยด์เป็น สารที่พบในพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสี สีจะหลากหลายเหมือนสีรุ้ง ถูกสกัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 โดย Albert Szent - Gyorgyri ซึ่งค้นพบไวตามินซี Szent-Gyorgyri พบว่าฟลาโวนอยด์ ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้นใน ขณะที่ไวตามินซีไม่มี คุณสมบัตินี้ เขาได้ตั้งชื่อฟลาโวนอยด์ว่าไวตามิน P  แต่เนื่องจากฟลาโวนอยด์ มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันจึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม ไวตามิน ฟลาโวนอยด์ที่พบในธรรมชาติจะอยู่ในรูปของอกลัยโคน (aglycone) อิสระหรือจับกับน้ำตาลเป็น กลัยโคไซด์ (glycoside) อกลัยโคนมีสูตรเป็น C6-C3-C6

        การที่ค้นพบว่าฟลาโวนอยด์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เนื่องมาจากการศึกษาเหตุและผลที่ขัดแย้งกันของชาวฝรั่งเศส กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสรับประทานเนยและไขมันมากกว่าชาวอเมริกัน 4 เท่า และ 3 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้ระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตก็ยังสูงกว่าชาวอเมริกันแต่ชาว ฝรั่งเศสกลับ ตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยกว่าชาวอเมริกัน 2.5 เท่า   ซึ่งได้พบว่าชาวฝรั่งเศสดื่มเหล้าองุ่นเป็นประจำและพบว่าการดื่มเหล้าองุ่น 1-2 แก้วต่อวัน สามารถป้องกันโรคหัวใจได้ จากการศึกษาพบว่าเหล้าองุ่นแดงดีกว่าเหล้าองุ่นขาว ซึ่งแสดงว่าผลในการป้องกันนี้ไม่อยู่เพียงแค่แอลกอฮอล์

         นักวิจัยชาวอิสราเอล โดยการนำของ Lavy ศึกษาผลของการดื่มเหล้าองุ่นแดงและขาวพบว่าผู้ที่ดื่มเหล้าองุ่นแดงจะมี high density lipoprotein (HDL) ซึ่งเป็น cholesterol ดี สูงถึง26 % และ apolipoprotein A-1 ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับ HDL เพิ่มขึ้น 12 % แต่ระดับของ HDL ไม่เปลี่ยนแปลงในคนที่ดื่มเหล้าองุ่นขาว Folts2 ได้ทดลองเกี่ยวกับเหล้าองุ่นแดง ขาว และน้ำองุ่นดำที่ผสมแอลกอฮอล์ สรุปได้ว่าฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มอาจไปหน่วงเหนี่ยวขบวน การเกิดแผ่นไขมัน ทำให้ป้องกันหลอดเลือดตีบตันได้ นอกจากนี้ Connor3 ยังได้พบว่าชาวฝรั่งเศสรับประทานผักซึ่งอุดมไปด้วยไวตามิน แคโรตีน และฟลาโวนอยด์มาก นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ยังพบในใบชาต่าง ๆ เช่นเดียวกับฟลาโว-นอยด์ที่พบในองุ่น ผลไม้ และผัก ซึ่งป้องกันโรคหัวใจ Hartog และ Feskens4 ได้ศึกษาการบริโภคและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ชาย 805 คน 


      *อายุ 65-84 ปี พบว่า คนที่รับประทานฟลาโวนอยด์มาก ๆ ซึ่งมีใน ใบชา หัวหอมและแอปเปิ้ล จะเป็นโรคหัวใจ หรือหัวใจล้มเหลวน้อยกว่าคนที่รับประทานฟลาโวนอยด์น้อย* 



      ซึ่งพบว่า ฟลาโวนอยด์เป็นตัวกำจัดการเกิด oxidation ของ LDL ซึ่งเป็นตัวสำคัญในขบวนการเกิดแผ่นไขมันImai และ Nakachi5 ได้ศึกษาผู้ชาย 1371คน เป็นเวลานาน 40 ปี เกี่ยวกับการบริโภคและสุขภาพ พบว่า คนชราที่ดื่มน้ำชา 10 ถ้วยขึ้นไป จะมีระดับ cholesterol และ triglycerides ในเลือดต่ำกว่าผู้ชายที่ดื่มน้ำชาน้อย โดยผู้ที่ดื่มน้ำชามาก ๆ จะมีระดับ HDLในเลือดสูงและมีระดับ LDL ในเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังลดระดับของ enzyme บางชนิดในตับ ทำให้ลดโอกาสที่จะเป็นโรคตับ Conney6 ได้ ทดลองให้หนูกินน้ำชาชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด และฉายแสง UV หรือให้สารเคมีที่จะทำให้เกิดมะเร็ง พบว่าหนูที่กินน้ำชาจะมีจำนวนและขนาดของเนื้องอกลดลง ชาดำให้ผลดีมากที่สุด (93%) 

       เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับน้ำ ชาเขียวให้ผลเกือบเท่าชาดำ (88%) ชาดำและชาเขียวที่เอาคาเฟอีนออกให้ผลดีเพียง 77 และ 72 % ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฟลาโวนอยด์สูญเสียไปในขบวนการที่ เอาคาเฟอีนออกนอกจากนี้ ฟลาโวนอยด์ในถั่วเหลืองก็ยังมีผลต่อการลดระดับ cholesterol ในเลือด Anderson7 พบว่าการบริโภคโปรตีนถั่วเหลือง 47 กรัมต่อวัน จะลดระดับ cholesterol, LDL และ triglycerides ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากปริมาณการบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองอาจแตกต่างกัน Anderson ได้พิสูจน์ว่าถ้ารับประทานโปรตีนถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวัน จะลดระดับ cholesterol ได้ประมาณ 8.9 % และ 50 กรัม จะลดได้ 17.4 % การรับประทานโปรตีนถั่วเหลืองทำได้ง่ายมาก โดยการดื่มนมถั่วเหลือง 1 ถ้วย (ประมาณ 250 ซีซี) จะได้โปรตีนประมาณ 4-10 กรัม เต้าหู้ 120 กรัม จะได้โปรตีน 8-13 กรัม
      จะเห็นได้ว่าฟลาโว-นอยด์ให้คุณค่าทางอาหารมากพอ ๆ กับไวตามินและแร่ธาตุ ดังนั้นจึงควรรับประทานผัก ผลไม้ ชา และถั่วเหลืองให้มาก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจที่เกิดจาก Cholesterol 


References

1. Lavy A. Annals of Nutrition and Metabolism 1994; 38 : 287-94.
2. Folts J. D. Circulation 1995; 91 : 1182-8.
3. Connor W. E. Circulation 1995; 88: 2771-9.
4. Hartog M. and Feskens E. The Lancet 1993; 342: 1007-11.
5. Imai K. and Nakachi K. British Medical Journal 1995; 310: 693-6.
6. Conney A. Cancer Research 1994; 54: 3428-35.
7. Anderson J. W. New England Journal of Medicine 1995; 333: 276-82.



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes