Thai Language English Language

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - สารอาหาร 20. โคเอนไซม์คิวเทน สารต้านมะเร็ง

20. โคเอนไซม์คิวเทน  ( Coenzyme Q10 )

         หรือเรียกสั้นๆ ว่า CoQ10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามิน ช่วยดูแลการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ อย่างเช่น ช่วยด้านการสูบฉีดเลือดและต้านการเสื่อมของหลอดเลือด หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ และช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        หน้าที่หนึ่งของโคเอนไซม์คิวเท็นเองได้ และอีกส่วนได้จากอาหาร เช่น น้ำมันปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน อาหารทะเล รำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ



- โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q10 )  คืออะไร

        คือ  โคเอ็นไซม์  คิวเทน หรือ วิตามินQ เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างพลังงาน ของเซลล์ร่างกายที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ต่างๆในร่างกาย

- โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q 10 )  มาจากไหน

       Coenzyme Q10 ตาม ธรรมชาติ เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่นๆอีก เช่น ที่ผิวหนังโดยที่ชั้นหนังกำพร้าละหนังแท้แต่จะมีจำนวนลดลงเมื่อมีอายุมาก ขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับจากการรับประทานอาหารจำพวกปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาวผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บร๊อคโคลี่ ปวยเล้ง

- โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q10 ) ดีอย่างไรต่อร่างกาย

       คุณสมบัติเด่นของ Coenzyme Q10   เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระนั่นคือสามารถชะลอความแก่ได้ โดยที่ Coenzyme Q10    สามารถ สร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อในการแบ่งเซลล์ ทำให้ริ้วรอยต่างๆสามารถลดลงและเลือนหายไป นอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและชะลอความแก่ได้ Coenzyme Q10     ยัง มีคุณสมบัติต่างๆเช่นในการทำงานของหัวใจดีขึ้น ช่วยเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นป้องกันและรักษาโรคเหงือกความดันเลือด สูง คลอเรสเตอรอลสูง
การทำงานของโคเอ็นไซม์ คิวเทน

       การทำงานของโคเอ็นไซม์คิวเทน ทำตัวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Free Radicals) คล้าย กับวิตามินซี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าโจมตีโมเลกุลไขมันในเซลล์ ช่วยรักษาผนังของเซลล์ให้คงสภาพสมบูรณ์ โคเอ็นไซม์  คิวเทน ออกฤทธิ์ในอวัยวะของเซลล์ ส่วนที่เรียกว่า
โบโตคอนเครีย ซึ่งเป็นเหมือนโรงงานสำคัญ ที่ผลิตพลังงานสำหรับเซลล์ทำหน้าที่สันดาปโดยใช้ออกซิเจนด้วยกระบวนการที่ เรียกว่าไอโออีเนอเจติตส์

- ผลการศึกษาโคเอ็นไซม์  คิว 10

       ผลการศึกษาของอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยบอสตัน พบว่า Q10   ช่วย ยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนแข็งของคลอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดงหัวใจ จึงป้องกันเส้นเลือดอุดตันของหัวใจด้วยและยังพบด้วยว่าการออกฤทธิ์แบบนี้ แรงกว่าวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนเสียอีก

       นอกจากนี้ยังพบว่า โคเอ็นไซม์ Q10 ยังมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวเรียกว่า Cardiomyopathy   ซึ่ง หมายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำงานล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคหัวใจโตซึ่งเกิดจากการขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ แต่ประสิทธิภาพของการทำงานกลับลดลง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและไม่มีแรง

       จากการศึกษาในคนไข้ชาวอิตาเลียนกว่า 2,500 ราย พบว่ากว่าร้อยละ 80 มีอาการของโรคหัวใจดีขึ้นเมื่อกินโคเอ็นไซม์ คิวเทน วันละ100 มิลลิกรัม

       ส่วน ประเทศญี่ปุ่น มีการทำวิจัยไว้ถึง 25 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจปัจจุบันโคเอ็นไซม์ คิวเทน  เป็นยาตามใบสั่งที่มีขายทั่วไปประเทศญี่ปุ่นหลายแห่งสังเคราะห์และผลิตโคเอ็นไซม์คิวเทนจำหน่ายทั่วโลก 

- ความมหัศจรรย์ของ โคคิว 10     
    
        โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ ยูบิควิโนน (Ubiauinone) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพและการอยู่รอด มีอยู่ในเซลล์ของมนุษย์ทุกเซล โคคิว 10 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายเทอีเลคตรอนสำหรับไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์  มี รูปร่างคล้ายซิการ์ ร่างกายเรามีไมโตคอนเดรียหลายพันล้านอันที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับร่าง กายเรา โคเอนไซม์ คิว 10 เป็นสารประกอบแอนติออกซิแดนท์ที่เหมือนกับวิตามินเค สร้างขึ้นที่ตับและเซลล์อื่นๆ แม้ว่าร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังขาดสารเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจล้มเหลว โคเอนไซม์ คิว 10 มี มากรในเครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, ปลา, ถั่วต่างๆ, ผักพวยเล้ง และบร๊อคโคลี่ ในรูปอาหารเสริมสามารถหาซื้อได้ในร้านอาหารสุขภาพ

- โรคที่เกิดจากการมีคิว 10 ไม่เพียงพอ

        โลก ที่มีความเครียดสูงอย่างนี้ ผู้คนส่วนมากไม่ได้รับโคคิว 10 อย่างเพียงพอถึงแม้เราจะอยู่ได้ทั้งๆ ที่ไม่มีคุณภาพพร้อมไปกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ, ความบกพร่องทางระบบประสาท, ความคิดความอ่านช้า, โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง, ความอ้วน, ความดันโลหิตสูง, อ่อนเพลีย, ปวด เค้นในอก หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเหล่านี้ล้วนมาจากการมีระดับโคคิว 10 ต่ำ การขาดโคคิว 10 เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนมากมาจากสาเหตุมาจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือโรคบางชนิดที่ต้องการโคคิว 10 มากกว่าที่ร่างกายจะสร้างขึ้น กลุ่มที่ขาดโคคิว 10 อีกพวกหนึ่งคือ ผู้สูงอายุที่ร่างกายผลิตสารแอนติออกซิแดนท์ ได้น้อยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

- โคคิว 10 กับหัวใจ

        เนื่องจากหัวใจต้องเต้นโดยเฉลี่ยวันละ 100,000 ครั้ง มันจึงต้องการพลังงานอย่างต่อเนื่องซึ่งจะต้องใช้โคคิว 10 ปริมาณมาก โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่งอาจเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยจึงค่อยๆ ถูกขโมยลมหายใจและพลังงานไป การศึกษาหลายครั้งได้ถูกรวบรวมไว้โดยระบุถึงความสามารถของโคคิว 10 ในการลดอาการหัวใจล้มเหลว โดยมีการศึกษาครั้งหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Therapeutics พบ ว่าการใช้โคคิว 10 เป็นอาหารเสริมทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้มากกว่า 15.7 เปอร์เซ็นต์ และทำให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น 25.4 เปอร์เซ็นต์

- ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis)

        โรคที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งคือ โรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary artery disease หรือ CAD) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจล้มเหลว สิ่งสำคัญในการเกิด CAD นี้ก็คือการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis) โค คิว 10 ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง โดยไปจำกัดปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดสามารถลดแผลช้ำที่เกิดจาก ผนังหลอดเลือดแข็งด้าง ทำให้หลอดเลือดมีความคงตัวดีขึ้น

- เจ็บเค้นในอก (Angina) ความดันโลหิตสูง

       ผู้ ที่รับประทานโคคิว 10 มีอาการเจ็บเค้นในอกลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานขึ้น ยังช่วยผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การใช้โคคิว 10 รักษาเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ทำให้ความดันเลือดตัวบน (Systolic) ลดลง 20 จุด  และความดันตัวล่าง (Diastolic) ลดลง 10 จุด

- โคคิว 10 กับกล้ามเนื้อ

       เนื่องจากส่วนใหญ่ของหัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อ โคคิว 10 นั้นมีส่วนช่วยผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย (Dystrophy) ในการทดลองแบบ Double-Blind สองครั้งโดยมีการควบคุมติดตามผลอาการกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย นักวิจัยพบว่า การให้โคคิว วันละ 100 มก. ช่วยทำให้ การทำงานของสรีระดีขึ้น การทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้นและอาการอ่อนเพลียลดลง

- โคคิว 10  กับสมอง

       โรค พาร์คินสัน เป็นความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากที่สุด โดยมีผลต่อผู้ที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 74 ปี อยู่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูงอายุกว่า 85 ปี โรคพาร์คินสันซึ่งเกิดจากการถูกทำลายของประสาทพิเศษชื่อว่า Striatal dopaminergic neurons ที่ อยู่ลงลึกไปในสมองพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีระดับโคคิว 10 ต่ำ การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า การให้โคคิว 10 เป็นอาหารเสริมช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประสาทพิเศษเหล่านี้ลงได้ จริงๆ โคคิว 10 เองก็เป็นการรักษาแบบธรรมชาติ อย่างแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต่อสู้กับโรคที่ทำให้เกิด

       การทำลายอย่างร้ายแรงชนิดนี้ โรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงอีกชนิดคือ โรคฮันทิงตัน
(Huntington’s diease) เป็น โรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่หายยากและร้ายแรงถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ ควบคุมร่างกาย และต้องทนทุกข์กับสภาพความคิดความอ่านที่เสื่อมถอยลง

       โชคร้ายที่ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีในการรักษา อย่างไรก็ดี ในการศึกษาแบบใช้ยาหลอกแบบสุ่มโดยมีการควบคุมที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Neurology ก็ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานโคคิว 10 มีการเสื่อมทางประสาทลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาโรคฮันทิงตันได้ โคคิว 10 ก็เป็นสารชนิดแรกที่สามารถชะลออาการของโรคให้ช้าลงได้

 - โรคหัวใจกับโคเอนไซม์คิว 10

       หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะเพียงไม่กี่ชิ้นในร่างกายที่ต้องทำงานติดต่อกันโดยที่ไม่หยุด ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) จึง ต้องการพลังงานมาก หากเกิดสภาวะใดก็ตามที่ทำให้ระดับโคคิว 10 ลดลง จะมีผลต่อการผลิตพลังงานให้แก่หัวใจ ทำให้มีแนวโน้มที่จะถูกฟรี แร็ดดิคัล จู่โจมได้ง่ายความเครียดที่เกิดจาก ฟรีแร็ดดิคัล จะแสดงให้เห็นอาการได้ง่าย ถ้าปล่อยให้อาการหัวใจล้มเหลวเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดอันตรายได้ หัวใจจึงต้องการโคคิว 10 ในปริมาณที่มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 300 ถึง 400 มก.  กรณีการเกิดหัวใจล้มเหลวในเพศ ชายนั้นสามารถระบุสาเหตุได้ ในสตรีมักเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ จากการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นสตรีทำให้เชื่อว่า อาการหัวใจล้มเหลวโดยส่วนมากนั้นเกิดจากอาการขาดโคคิว 10 ลดลงจนเป็นอันตราย ทำให้สูญเสียพลังงานในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งประสบการณ์ของผู้เขียนใช้โคคิว 10 มาตั้งแต่ปี 1986 โดยให้ครั้งแรกแก่คนไข้ที่ทำการผ่าตัดบายพาส เพียงครั้งละ 10 มก.  วันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่นั้นมาก็ให้เพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นกว่าตอนแรก ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายประเทศ และพันคนที่รับประทานโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่างกันออกไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เพราะหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่ำ ก็จะต้องเพิ่มปริมาณเข้าไปและคงระดับนั้นเอาไว้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ได้รับวันละ 500 มก. หรือมากกว่านั้นเพื่อให้เกิดผลในการรักษา

- Congestive Heart Failure (CHF)

      หัวใจล้มเหลวเพราะเลือดคั่ง (CHF) ร้าย แรงที่สุด มักจะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีวัย 70 ถึง 80 ปี อัตราการรอดชีวิตมีน้อยกว่ามะเร็งเต้านม และมักจะเป็นอาการขั้นสุดท้ายของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง, อาการขาดโลหิตเฉพาะที่เนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตัน (Is-chemia) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction), ติด สุราเรื้อรัง หรือการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน ผู้ป่วยหนึ่งในสาม ป่วยด้วยโรคนี้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความเป็นไปได้สูงที่ว่าผู้ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุนั้นอาจเนื่องมาจากด้าน โภชนาการ เนื่องจากผู้หญิง (และผู้ชาย) สูงอายุต่างก็มีระดับโคคิว 10 และสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ ลดลง การศึกษาทางคลินิกวิทยาหลายครั้ง หลายแห่งได้รวบรวมข้อมูลและผลดีต่างๆ ของโคเอนไซม์คิว 10 สารนี้แสดงให้เห็นความสามารถในการทำให้อาการเจ็บเค้นในหน้าอกดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า โคคิว 10 ช่วยทำให้คนไข้หายจากการป่วยและฟื้นตัวเร็วกว่าจากการผ่าตัดบายพาสยังช่วย บรรเทาพิษที่เกิดจากยาที่ใช้ในการลดโคเลสเตรอรอลและเคมีบำบัด

- ลิ้นหัวใจรั่ว (Mitral Valve Prolapse)

      การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว การรักษาด้วยยา พบว่ามีหลายรายมากที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา Beta-Blocker และแม้แต่ผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษา    ก็ยังกล่าวถึงผลข้างเคียงที่เกิดเช่น

   -  อ่อนเพลีย

   -  ความคิดสับสน

   -  ผมร่วง

   -  หลงลืม

        อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลานานประมาณ 30 60 นาที  จนกว่ายาจะออกฤทธิ์  การรักษาแนว
ใหม่ด้วยวิธีที่ง่ายด้วย การให้วิตามินและเกลือแร่ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงใดๆ 25 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย สนองตอบต่อโคคิว 10 ค่อนข้างดี อาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่เต็มอิ่มลดลง เมื่อใช้โคคิว 10 วันละ 90 180 มก. ซึ่งในปริมาณที่กล่าวมานี้ให้ผลดีมากต่ออาการหัวใจเต้นผิดปกติ และยังทำให้เนื้อเยื่อเกิดการสมดุล

- ยารักษาโรคหัวใจอาจทำให้เกิดมะเร็งที่เต้านม

       ผู้ ที่มีประวัติหลอดเลือดหัวใจ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่เต้านมได้ พบว่าระดับโคคิว 10 ในผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิดนั้นมีระดับต่ำ การศึกษาจากประวัติสตรีที่เป็นมะเร็งที่เต้านม 200 คน พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์มีระดับโคคิว 10 ต่ำกว่าปกติ สัมพันธ์กับคนไข้ที่ใช้ยา HMG-CoA Reeducates ได้แก่ ยาพวก

   -  Lipitor

   -  Mevacor

   -  Zocor

   -  Pravachol

        ยาเหล่านี้เข้าไปขัดขวางกระบวนการทางชีวบำบัดประมาณ 20 อย่างในร่างกาย  ยาสามารถเข้า
ไป ลดคลอเลสเตอรอลได้ แต่มันก็ทำให้ระดับโคคิว 10 ต่ำลงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง หากจำเป็นที่ต้องใช้ยานี้ก็ควรที่จะรับประทาน โคคิว 10 เสริมเข้าไปด้วยในปริมาณ 100 มก.
กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

       หญิงหลังวัยหมดรอบเดือนเสี่ยงมากกว่า หญิงที่อ่อนวัยกว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อมะเร็งที่
เต้านม การรับประทานอาหารมังสวิรัติ จะมีความเสี่ยง หากไม่ได้รับโคคิว 10 และแอ-คาร์นิทีน จากอาหารปกติอย่างเพียงพอ

ปริมาณที่แนะนำ

          โคคิว 10 นั้นมีความปลอดภัยและร่างกายสามารถทนทานได้  สามารถละลายได้ในไขมัน จึงควรรับประมาณไปพร้อมกับอาหาร
  1.  ควรปรึกษาแพทย์หากรับยาโรคเบาหวานหรือยาลดความดันโลหิต เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลข้าง     เคียงในการใช้โคคิว 10
  2. รับประทานวิตามินบี 6 วันละ 25 100 มก. เพื่อเสริมให้เกิดการผลิตโคคิวมีมากขึ้น
  3. โรคเบาหวานปริมาณโดยเฉลี่ย 150 มก. วันละ 3 ครั้ง
  4. ปวดเค้นในอก 50 มก. วันละ 2 ครั้ง
  5. ปัญหากล้ามเนื้อ วันละ 100 150 มก.
  6. โรคฮันทิงตัน 300 มก. วันละ 2 ครั้ง
  7. โรคพาร์คินสัน 200 มก. วันละ 4 ครั้ง
  8. โรคหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดคั่ง 300 400 มก.
  9. โรคความดันโลหิตสูง 120 240 มก.
  10. ป้องกันไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ 60 90 มก. ต่อวัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes