Thai Language English Language

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - เรียนรู้วิธีการสยบ 5 โรคฮิตคนทำงาน

เรียนรู้วิธีสยบ.... 5 โรคฮิตคนทำงานเหตุโกร๊ธฮอร์โมนหาย

         หาก ยังจำกันได้ ไม่นานมานี้กระทรวงสาธารณสุขเพิ่งจัดโครงการ “วัยทำงานปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนวัยทำงานอย่างจริงๆ จังๆ

        เนื่อง จากมีการคำนวณคร่าวๆ ว่า คนเราทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง และตลอดอายุงานจะทำงานเฉลี่ย 53,000 ชั่วโมง จากข้อมูลนี้คงทำให้หลายคนตาโต เพราะจะเห็นได้ว่า เวลากว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตอุทิศให้กับการทำงานเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องเตรียมกายและใจให้พร้อมอยู่เสมอ จะได้มีเรี่ยวแรงทำงานให้สำเร็จลุล่วง การที่คนวัยทำงานจะมีสุขภาพ เป็นเลิศได้นั้น มีต้นทางสำคัญคือ โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone: G.H.) ซึ่งเปรียบได้กับแม่ทัพช่วยบำรุงความแข็งแรง คงความเป็นหนุ่มเป็นสาว สร้างความกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะขจัดปัญหาสุขภาพของคนทำงานได้อยู่หมัด

        ชีวจิตจึงรวบรวมสุดยอดเคล็ดลับกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมน ฉบับทำง่ายได้ผลจริงมาให้เพื่อนๆ คนทำงานนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รับรองว่าศักยภาพของคุณจะเต็มเปี่ยมจนคนรอบข้างอิจฉาอย่างแน่นอนค่ะ

- 5 โรคฮิตคนทำงานเหตุโกร๊ธฮอร์โมนหาย 

        แม้ปัญหาสุขภาพของคนทำงานจะเกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย แต่หากมองในเรื่องของโกร๊ธฮอร์โมนที่เป็นหัวใจสำคัญของภูมิชีวิต แต่ชีวิตการทำงานทำให้ต้องลดลงจากเดิมอย่างมากแล้วล่ะก็ คุณมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคหรืออาการยอดฮิตต่อไปนี้ค่ะ

        1. หัวใจอ่อนแอ ล่าสุดผลการสำรวจโรคเรื้อรังในคนวัยทำงานอายุระหว่าง 15-59 ปี พ.ศ.2552 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดมาแรงแซงทุกโรคจนกลายเป็นอันดับ 1

        แพทย์หญิง วิเวียน เอส. เฮอร์แมน-โบเนิร์ต ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อ ประจำศูนย์การแพทย์ซีดาร์-ไซนาย ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายไว้ในหนังสือ The Pituitary ว่า “โกร๊ธฮอร์โมนมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและการทำงานของ หัวใจ หากฮอร์โมนลดลงจะเพิ่มโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อเป็นแล้วยังมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ

        “เนื่องจากร่าง กายสลายไขมันตัวร้าย คือ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ไม่ดี แถมไขมันชนิดดีอย่าง HDL ยังลดลงด้วย ไขมันตัวร้ายทั้งคู่จึงเกาะตามผนังหลอดเลือด จนกระทั่งจับตัวเป็นคราบไขมันสะสม (plaque) เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบ มีลิ่มเลือดขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจหรือสมอง ส่งผลให้มีภาวะหัวใจวาย บ้างเกิดโรคหลอดเลือดสมอง”

       2. อ้วนได้อ้วนดี นอกจจากไทยจะติดอันดับ 5 ของประเทศที่มีคนอ้วนมากที่สุดในแถบเอเซียแปซิฟิกแล้ว กรมอนามัย กระทรวงสาธารรสุข ยังเก็๋บข้อมูล พ.ศ.2550 พบว่า กลุ่มคนเมืองที่ทำงานออฟฟิศเป็นโรคอ้วนจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น คนทำงานในกรุงเทพฯ มีภาวะอ้วนลงพุง 69.7

        ข้อมูลจากคุณหมอวิเวียนพบอีกว่า "โดยทั่วไปเมื่อเรากินอาหาร ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลิน (Insulin)
ออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วร่างกายจึงดึงไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อไรที่น้ำตาลคลูโคสหมด ไขมันที่สำรองไว้จะถูกนำมาใช้สร้างพลังงานทดแทน

        "โกร๊ธฮอร์โมนมีหน้าที่กระตุ้นให้ตับหลั่งสารกระตุ้นการเติบดตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (IGF-1 : Insulin Like Growth  Factor-1) เพื่อยับยั้งไม่ให้อินซูลินนำน้ำตาลกลูโคสมาใช้ เท่ากับบังคับให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน เราจึงสามารถรักษาสมดุลน้ำหนักตัวไว้ได้"

        "ครั้นโกร๊ธฮอร์โมนลดลง อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเผาผลาญไขมันผิดปกติ ร่างกายจึงมีเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นขณะที่กล้ามเนื้อชนิดที่ไขมันน้อยลดลง ก่อให้ไขมันสะสมพอกพูนตามส่วนต่างๆ เช่น รอบเอว ต้นแขน ต้นขา พร้อมกันนี้ ถ้าเรายิ่งอ้วนมากขึ้นเท่าไร โกร๊ธฮอร์โมนจะหลั่งน้อยลงเท่านั้น ไม่ว่าจะลดน้ำหนักอย่างไรอาจแก้ไขไม่ถูกจุด"

        3. ผิวหมดสวยก่อนวัย นอกจากโกร๊ธฮอร์โมนลดลงตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากอายุเพิ่มขึ้นแล้ว หากคนทำงานเกิดความเครียดหรือทำงานอย่างหักโหม ล้วนเร่งให้ฮอร์โมนทำงานสะดุดจนกระทบสุขภาพความงาม เป็นเหตุเหตุให้คนทำงานดูอายุเกินกว่าวัยและขาดความมั่นใจในตัวเอง

        แพทย์หญิงสายชลี ทาบโลกา เจ้าของคอลัมน์ ชีวจิต  Anti - aging  กล่าวว่า

        "เมื่อโกร๊ธฮอร์โมนลดลง จะทำให้ผิวหน้าหย่อนคล้อย มีริ้วรอยเพิ่มมากขึ้นไม่กระชับ ดดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ได้แก่ ใต้ตา พวงแก้ม คาง บางรายมีผมหงอกมาเยือนก่อนเวลา และผมขาดความเงางาม"

        เนื่องจากว่าโกร๊ธฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เนื้อเยื่อหลายชนิด ดดยเพิ่มการดูดซึมกรดแอมิโน (Amino Acid) หากโกร๊ธฮอร์โมนลด ร่างกายจึงสร้างโปรตีนประเภทอิลาสติน (Elastin) คอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นส่วนสำคัญของเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังน้อยลง การซ่อมแซมเนื้อเยื้อลดลง ผิวพรรณที่เคยตึงกระชับเปล่งปลั่งจึงหายไปด้วย

        4. กระดูกไม่แข็งแรง โกร๊ธฮอร์โมนสำคัญต่อความสูงและความแข็งแรงของกระดูกมาก ช่วงเวลาที่กระดูกคนเราจะมีความหนาแน่นและแข็งแรงมากที่สุดที่ราวอายุ 20 - 30 ปี หรือเทียบได้กับช่วงวัยทำงานตอนต้นตอมากระดูกจะค่อยๆ คลายความแข็งแรง โดยเฉพาะในคนทำงานที่มีภาวะวัยทองหรือเข้าใกล้วัยเกษียณ

        การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของโกร๊ธฮอร์โมนกับกระคูก โดยสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่าโกร๊ธฮอร์โมนมีหน้าที่ในการก่อรูปกระดูกเก่าให้สมดุล กับการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระคูกอ่อนและเนื้อเยื่อต่างๆ

        ดังนั้น เมื่อโกร๊ธฮอร์โมนหลั่งน้อยลงเรื่อยๆ จึงอาจมีส่วนทำให้มวลกระดูกลดลง เกิดกระดูกบาง จนกระทั้งกระดูกพรุน

        5. สุขภาพจิตย่ำแย่  ผลจากระดับโกร๊ธฮอร์โมนลดลง ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอาจสะท้อนออกทางสภาวะอารมณ์ในบางกรณี ทำให้มีปัญหาการทำงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

        วารสาร European Endocrine Review 2006 รายงานว่า กลุ่มคนที่มีระดับดกร๊ธฮอร์โมนต่ำกว่าปกติโดยเฉพาะ ถ้าถึงขั้นมีภาวะโกร๊ธฮอร์โมนพร่องด้วยแล้ว จะมีคุณภาพชีวิตไม่ค่อยดีนัก สำหรับทางด้านจิตใจนั้น พวกเขาอาจมีอารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ ขี้หงุดหงิด เหนื่อยล้า ขาดสมาธิ ความจำถดถอย ชอบแยกตัวอยู่คนเดียวตามลำพัง ซึมเศร้า เป็นต้น

ข้อมูล : นิตยสารชีวจิต ฉบับ 336   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes