7. ไลโคปีน ( Lycopene )

บทความจาก American Cancer Society บอกว่า คนที่กินมะเขือเทศมากๆ พบว่าลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งปอดและมะเร็งในช่องท้อง
เนื่องจากไลโคปีนเป็นสารพฤกษเคมีที่ให้สีแดง เพราะฉะนั้นผัก,ผลไม้ที่มีสีแดงมักจะอุดมไปด้วยสารอาหารนี้ เพราะฉะนั้นผักผลไม้ที่มีสีแดงมักอุดทไปด้วยสารอาหารนี้ เช่น แตงโม มะเขือเทศ มะละกอ ฝรั่งขี้นก ( เวลาสุกเนื้อในเป้นสีชมพู ) เกรปฟรุตสีชมพู ฯลฯ
- ไลโคปีน (Lycopene) คืออะไร
ไลโคปีน (Lycopene) คือ แคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของสีแดงของมะเขือเทศ และแตงโม ที่มีโครงสร้างโมเลกุล ที่ยาวกว่าแคโรทีนอยด์ชนิดอื่นๆทำให้ ไลโคปีน เป็นแคโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูล อิสระซึ่งจะช่วยลดความผิดปกติ และความเสื่อมของเซลล์ อันเนื่องมาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ว่า ปริมาณไลโคปีนในร่างกายจะลดลงเมื่อ อายุมากขึ้น และพบว่าปริมาณสารไลโคปีนในร่างกาย มีความสัมพันธ์แบบผกผัน กับอัตราการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยที่มีปริมาณสารไลโคปีนในร่างกายต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็ง ต่อมลูกหมากเพิ่มขี้น
* ไลโคปีนช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก
ไลโคปีน มีมากในมะเขือเทศ จากการทดสอบ โดยให้ ผู้เข้ารับการทดสอบรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่า เมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์
การรับประทานมะเขือเทศในอัตราสูง จะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทุกประเภท ได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
สารสกัดจากมะเขือเทศ ที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโต ของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ ภายหลังจากการรักษา โรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
- ความสำคัญของ ไลโคปีน
ไลโคปีน อาจจะมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอก และยับยั้งการพัฒนา วงจรชีวิตของเซลล์ในช่วงต้น ของการเกิดเซลล์มะเร็ง (ระยะ G1) ไลโคปีนอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
บุคคลที่มีสารสกัดพลาสมาไลโคปีน ที่สูงที่สุดจะมี เปอร์เซ็นต์ของการเกิดการหนาตัว ของหลอดเลือด IMT (intima-mediated thickness) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ระยะเริ่มต้นได้ต่ำสุด ถึง 90%
** ดังนั้นการได้รับ ไลโคปีนในปริมาณที่สูง อาจช่วยลดอัตราเสี่ยง ของการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
*** การรับประทานไลโคปีน สามารถลดอัตราเสี่ยงของการ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันต่ำกว่า 60% สำหรับ บุคคลที่ มีสารสกัดไลโคปีนสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ ผู้ที่มีสารสกัดไลโคปีนต่ำสุด ไลโคปีนอาจจะลดความรุนแรง ของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์
- ไลโคปีน (Lycopene) คือสารสีแดงในมะเขือเทศ มีส่วนช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ผู้เข้ารับการทดสอบที่รับประทานมะเขือเทศในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์ - การรับประทาน มะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกประเภท ได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
- สารสกัดจาก มะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ภายหลังจากการรักษา โรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
- ไลโคปีนอาจจะมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญ เติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอกและยับยั้งการพัฒนา วง * บุคคล ที่รับประทานมะเขือเทศบด 40 กรัมต่อวัน ได้รับสารไลโคปีน 16 กรัมต่อวัน จะมีอัตราของอาการ เผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์ลดลง 40% หลัง จากรับประทานมะเขือเทศติดต่อกันนาน 10 สัปดาห์จรชีวิตของเซลล์ในช่วงต้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง (ระยะ G1) ไลโคปีนอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- บุคคลที่มี สารสกัดพลาสมาไลโคปีนที่สูงที่สุดจะมี เปอร์เซ็นต์ของการเกิดการหนาตัวของหลอดเลือด IMT (intima-mediated thickness) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดระยะเริ่มต้นได้ต่ำสุด ถึง 90% ดังนั้น การได้รับไลโคปีนในปริมาณที่สูงอาจช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุด ตันในเส้นเลือด - การรับประทานไลโคปีนสามารถอัตราเสี่ยงของการ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันต่ำกว่า 60% สำหรับบุคคลที่ มีสารสกัดไลโคปีนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีสารสกัดไลโคปีนต่ำสุด ไลโคปีนอาจจะลดความรุนแรงของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์
อ้างอิง * รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน , เอกสารประกอบการบรรยาย "โภชนาการพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด" , พ.ศ. 2550 ที่มา : http://anti-aging.in.th/thread-9-1-1.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น