Thai Language English Language

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - ทำไมโกร๊ธฮอร์โมนจึงเป็นยาวิเศษของคนทำงาน

Ask Guru Satis!   ทำไมโกร๊ธฮอร์โมนจึงเป็นยาวิเศษของคนทำงาน

        อาจารย์สาทิส  อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต กล่าวถึงความสำคัญของโกร๊ธฮอร์โมนว่า "เป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นให้ภูมิชีวิต (Immune System) ทำงาน"

        จุดเริ่มต้นมาจากการที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ขับโกร๊ธฮอร์โมนรีลีสชิงฮอร์โมน (GHRH : Growthhormone - Releasing Hormone) ไปยังต่อมพิทูอิทารี จากนั้นจึงกระตุ้นให้เกิดการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนออกมา

        โกร๊ธฮอร์โมนออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านสารกระตุ้นการเจริญเติบโตที่ม่โครงสร้างคล้ายอินชูลิน (IGF-1) จึงมีประโยชน์ตั้งแต่หัวจรดเท้า

        ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเติบโตส่วนที่สึกหรอของกระดูกและกล้ามเนื้อ รักษาบาดแผลทั้งภายในและภายนอก กระตุ้นการแตกตัวของโปรตีน กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน เพิ่มระดับกลูโคสในเลือด ช่วยเผาผลาญแร่ธาตุๆ ให้สมบูรณ์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือด ลดการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพื่อเอาไว้ใช้เป็นพลังงานสำรอง และรักษาความยือหยุ่นของเส้นเอ็นและกระดูกอ่อน

        ทว่าเมื่อคนเราเจริญเติบโตเต็ม
ที่ (อายุประมาณ 20-25 ปี) ร่างกายจะเริ่มขี้เหนียว ค่อยๆ ผลิตโกร๊ธฮอร์โมนลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดกันว่าทุกๆ 10 ปี การหลั่งจะลดลงประมาณร้อยละ 15 จนกว่าจะหมดไปเมื่อถึงวัยสุงอายุ แต่บางคนโชคร้ายหยุดหลั่งเสียดื้อๆ เมื่ออายุ 50 ปี

        ถ้ายิ่งใช้ชีวิตอย่างไม่สมดุลด้วยแล้วทั้งกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกายและทำงาน ก็ยิ่งเร่งให้การสร้างโกร๊ธฮอร์โมนขาดสมดุล จึงต้องโบกมือลาไปอย่างรวดเร็วกว่าเดิม ส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ไม่แข็งแรงเหมือนเก่า หรืออายุสั้น

Did You Know?  โกร๊ธฮอร์โมนไม่สมดุลทำป่วย

        กรณีที่ร่างกายผลิตโกร๊ธฮอร์โมนผิดปกติอาจก่อให้เกิดอาการต่อไปนี้

        -  ภาวะโกร๊ธฮอร์โมนพร่อง มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง มวลไขมันเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง

        -  ภาวะโกร๊ธฮอร์โมนเกิน ผิวหนังหนา ฟันห่าง คางยื่น ริมฝีปากหนา ลิ้นคับปาก มือ เท้า และนิ้วโต ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้ออินชูลิน เป็นต้น  

ข้อมูล/ภาพ : apexprofoundbeauty.com

โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร

โกรทฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการควบคุมขบวนการต่างๆ ในร่างกายการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งกระบวนการเมตะบอลิสซึมในร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีในขณะนี้ว่าผลที่เกิดจากโกรทฮอร์โมนในร่างกายมีสองชนิด ชนิดแรก เป็นผลโดยตรง และชนิดที่สอง เป็นผลทางอ้อม

 - ผลโดยตรง เกิดจากการที่โกรทฮอร์โมนไปจับกับตัวรับบนเซลล์เป้าหมาย ยกตังอย่างเช่น เซลล์เป้าหมายเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์ไขมันจะมีตัวรับ โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันชนิด ไตรกลีเซอไรด์ และยับยั้งการสะสมไขมันที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด

- ผลทางอ้อม เกิดขึ้นผ่านทางสารอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า 'สารกระตุ้นเจริญเติบโตที่คล้ายอินซูลิน' หรือ insulin-like growth factor-I (IGF-I) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับ และเนื้อเยื่ออื่นๆ การสร้าง IGF-I เป็นผลจากโกรทฮอร์โมนโดยตรง ส่วนใหญ่แล้วผลของ
โกรทฮอร์โมนเกิดจาก IGF-I ออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย


ผลของ growth hormone ที่มีต่อกระบวนการเจริญเติบโต
         กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย มีความสลับซับซ้อนหลายประการ และอาศัยการทำงานประสานสอดคล้องกันของฮอร์โมนหลายชนิด สำหรับบทบาทสำคัญของโกรทฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นการกระตุ้นตับและเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้สร้าง IGF-I

บทบาทของ insulin-like growth factor-I (IGF-I)
 

        เกิดจากการที่โกรทฮอร์โมนไปจับกับตัวรับบนเซลล์เป้าหมาย ยกตังอย่างเช่น เซลล์เป้าหมายเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์ไขมันจะมีตัวรับ โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันชนิด ไตรกลีเซอไรด์ และยับยั้งการสะสมไขมันที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด
  1. IGF-I กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก ส่วน
    โกรทฮอร์โมนจะมีผลโดยตรงกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการพัฒนาจำแนกชนิดต่อไป ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก 
  2. IGF-I กระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ โดยกระตุ้นเซลล์มัยโอบลาสท์ให้แบ่งตัวเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงและเพิ่มจำนวนเซลล์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการนำกรดอะมิโนมาใช้ และกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ อีกด้วย
ผลของ growth hormone ที่มีต่อกระบวนการเมตาบอลิสซึม
 
        ผลของโกรทฮอร์โมน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกฤทธิ์โดยตรงของโกรทฮอร์โมนเอง หรือเป็นผลมาจาก IGF-Iก็ตาม ในบางกรณีอาจเป็นผลมาจากทั้งสองอย่างก็ได้


  1. ผลต่อโปรตีน พบ ว่าโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน ลดปฏิกิริยาเผาผลาญโปรตีน และสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้น โดยรวมถือเป็นการเพิ่มเมตาบอลิสซึมของโปรตีนในร่างกาย 
  2. ผลต่อไขมัน พบว่าโกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์เพิ่มการใช้ไขมัน กระตุ้นการสลายตัวของไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในเซลล์ไขมันชนิดอะดิโปซัยท์
  3. ผลต่อคาร์โบไฮเดรต พบ ว่าโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน ตัวของมันเองยับยั้งฤทธิ์ของอินซูลินที่เนื้อเยื่อปลายทาง และยังกระตุ้นให้ตับสร้างกลูโคสออกมามากขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าเมื่อฉีดโกรทฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย จะทำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และระดับอินซูลินจะเพิ่มมากขึ้นด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes