Thai Language English Language

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Health Life 2 You - วิธีตรวจสอบจุดพีคจากการออกกำลังกาย

Lets Cheek!     แบบไหนเรียกว่า "พีค"

        การออกกำลังกายจนถึงจุดพีคสังเกตได้จาก      
                             
          - มีเหงื่อโชมกาย
          - หัวใจเต้นแรง
          - ชีพจรเต้นเร็วตั้งแต่ 100 - 120 ครั้งต่อนาที

  • ออกกำลังกายให้ถึงพีค   
        หลังจากเริ่มต้นออกกำลังกายไปแล้ว ระดับโกร๊ธฮอร์โมนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - 20 ทั้งยังสามารถหลั่งขณะออกกำลังกายได้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

        แต่สิ่งสำคัญเพื่อให้ได้โกร๊ธฮอร์โมนมาครอบครอง อาจารญ์สาทิส อินทรกำแหง เสริมว่า

        "มีข้อแม้อยู่ว่า ต้องออกกำลังกายหรือทำกายบริหารให้จุดพีค (peak) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง และแต่ละครั้งควรใช้เวลาต่อเนื่องอย่างต่ำ 20 - 30 นาที"

        "โดยเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรำกระบอง ว่ายน้ำ หรือโยคะ ยิ่งออกกำลังกายมากก็ยิ่งสดใส ไม่รู้สึกเหนื่อย"

        งานวิจัยโดยแผนกสรีรวิทยาการออกกำลังกาย สถาบันวิจัยเวชสศาสตร์สิ่งแวคล้อม แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา แนะวิธีบู๊สต์อย่างด่วนด้วยการออกกำลังกายประเภทใช้กล้ามเนื้อต้นขาและมีอุปกรณ์ เช่น พายเรือ ยกน้ำหนัก ย่อนั่งเก้าอี้ลม วิดพื้น เหล่านี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงจนถึงจุดพีคง่าย ซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วว่า ทำให้ปริมาณโกร๊ธฮอร์โมนหลั่งเพิ่มขึ้นหลายเท่า

        เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า อุณหภูมิขณะออกกำลังกายก็มีอิทธิพลด้วย ดดยกลุ่มนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศึกษาพบว่า

        การออกกำลังกายในที่อากาศเย็นทำให้โกร๊ธออร์โมนหลั่งปริมาณน้อยกว่าและช้ากว่าในอุณหภูมิห้อง เนื่องจากอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ผอุณหภูมิที่วัดเมื่ออวัยวะภายในและระบบร่างกายทำงานในระดับที่เหมาะสม) ที่เอื้อต่อการหลั่งดกร๊ธฮอร์โมนลดลง

  • ปรับอารมณ์คิดบวก
        อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กล่าวว่า "จุดต่างๆ ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส รับรู้ความชอบใจและไม่ชอบใจ หากเรารูสึกสบายใจหรือพอใจ (Pleasure Center) จากนั้นกระตุ้นต่อมพิทูอิทารี ดังนั้น การคิดด้านบวกจึงช่วยให้ไฮโปทาลามัสเริ่มต้นขับโกร๊ธออร์โมนได้"

        "ในทางตรงกันข้าม หากปล่อยให้เกิดความพอใจหรืออารมณ์ด้านลบ เช่น โกรธ เครียด เศร้า เสียใจ นอกจากโกร๊ธฮอร์โมนจะไม่ยอมหลั่ง ยังอาจได้ฮอร์โมนตัวร้ายอื่นๆ ออกมาแทนที่ เช่น อะดรีโนคอร์ติดคโทรปิกฮอร์โมน (Adrenocorticotropic Hormone : ฮอร์โมนที่มีผลต่อเซลล์สีผิว รากขน และระบบภูมิคุ้มกันผิวหนัง) แล้วไปทำลายภูมิชีวิตของคนทำงาน"

        ที่สำคัญ การคิดด้านบวกเพื่อสลายอารมณ์ด้านลบ โดยเฉพาะความเครียดไม่เพียงเสริมการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมน หากช่วยป้องกันไม่ให้ภูมิชีวิตถูกทำลายอีกต่อ

        ได้โกร๊ธฮอร์โมนหลั่งตลอดกาลไม่ว่างานยากลำบากแค่ไหน ก็แข็งแรงพร้อมลุยค่ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes